วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย


ความหมายของสมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด   อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ

         เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหว ต้องสำรวจตามขั้นตอนการสำรวจพื้นฐาน ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการกู้ชีวิต ดังนี้
1.ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ โดยการเขย่าตัวแรงๆ พอที่จะปลุกคนหลับให้ตื่น ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ คุณ.ตื่น ตื่น.เป็นอะไรหรือเปล่า”
2.เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งอาจพูดว่า 
ช่วยด้วย มีคนหมดสติ
3.จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นที่แข็ง เพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวดหัวใจและทำให้แรงบีบเลือดออกจากหัวใจได้มาก ในการทำซีพีอาร์นั้น จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรงศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจ จึงจะทำซีพีอาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่านอนนี้ควรใช้เวลาไม่เกิน10วินาที        อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรี เลี่ยงความขัดแย้ง


ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 สารเสพติดให้โทษ


 สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด
วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน     อ่านเพิ่มเติม   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา



แนวทางการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง
                                                                                                                    เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร,ภ.ม.

ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug) คือยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดในกระบวนการรักษา และก่อให้เกิดอันตราย อาจถึงแก่ชีวิตหากเกิดความผิดพลาดในการใช้ยา หรือบริหารยา ดังนั้นจึงควรมีข้อตกลงร่วมกันในขั้นตอนการสั่งใช้ยา การจ่ายยา การบริหารยาหรือให้ยาแก่ผู้ป่วย โดยอาศัยความร่วมมือกันของสหสาขาวิชา ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร และพยาบาล เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดและอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ยานั้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้สร้างความตระหนักและกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ใส่ใจความปลอดภัย


             บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที  
อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สุขภาพชุมชน


  ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ
                 การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมี
ความสุข     อ่านเพิ่มเติม     
                  

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 โรคจากการประกอบอาชีพและพันธุกรรม


โรค ทางพันธุกรรม หมาย ถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของจีนและโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้
เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ ลูกโดยตรง
ชนิดของโรคทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม จำแนกได้ 3 ชนิด คือ
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม
ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่าง
การแบ่งตัว อ่านเพิ่มเติม